แชร์

เทคนิคการใช้งานอุปกรณ์เสริม (Techniques for using accessories)

อัพเดทล่าสุด: 23 เม.ย. 2024
386 ผู้เข้าชม

เทคนิคการใช้งานอุปกรณ์เสริมประเภท คอนเนคเตอร์ (Connector) 


คอนเนคเตอร์ (Connector) คือ อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เซนเซอร์และสายส่งไฟฟ้า (สายเคเบิล) คอนเนคเตอร์ทำหน้าที่ รับ-ส่ง สัญญาณทางไฟฟ้าระหว่างเซนเซอร์และอุปกรณ์ควบคุม สามารถกำหนดความยาวของสายเคเบิลได้

ข้อดี คือเราสามารถจัดเก็บสายสัญญาณได้ง่ายและ สะดวก เรียบร้อยจากความยาวสายที่พอดีของการเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างตัวอุปกรณ์เซนเซอร์ กับอุปกรณ์ควบคุม

ข้อเสียและปัญหาที่พบบ่อย แน่นอนว่าการเข้าสายด้วยตัวเอง มาตรฐานหรือคุณภาพไม่เทียบเท่า สายสัญญาณที่มาพร้อมกับคอนเนคเตอร์จากโรงงานผลิต

 

 

ประเภท Connector และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ

การเชื่อมต่อของคอนเนคเตอร์ (Connector) มีด้วยกันหลากหลายเทคโนโลยีที่ใช้การเชื่อมต่อ ในเบื้องต้นจะขอแนะนำ Connector ที่ได้รับความนิยมในงานอุตสาหกรรมดังนี้: 

1. การรเชื่อมต่อแบบสกรู (Screw connection)

 

 

คอนเนคเตอร์ชนิดการเชื่อมต่อด้วยสกรู เป็นมาตรฐานสำหรับขั้วต่อปลั๊กของ SICK M8 และ M12 สามารถใช้ประกอบสายเคเบิลและคุณภาพของสายเคเบิลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง รุ่นตัวอย่าง Type code: STE-1204-W

 
2. การเชื่อมต่อแบบหมุดสัมผัส (Pierce connection)


 

คอนเนคเตอร์ชนิดหมุดสัมผัสเจาะแต่ละแกนเพื่อสร้างการเชื่อมต่อทางไฟฟ้า  ทำให้แต่ละตัวนำแยกกันเป็นโซนการเชื่อมต่อ  รุ่นตัวอย่าง Type code: DOS-0803-GPC การเชื่อมต่อแบบเพียร์ซจะถูกระบุโดยคำต่อท้าย “PC”

 
 3. การเชื่อมต่อต้ดผ่านฉนวน (Insulation displacement connection)

 



 

 

 

 

 

คอนเนคเตอร์ชนิดการเชื่อมต่อโดยการตัดผ่านฉนวนตัวนำเ พื่อสร้างการเชื่อมต่อทางไฟฟ้า ทำให้มีความยืดหยุ่น กันกระแทก กันการสั่นสะเทือน แก๊สแน่นสัมผัสกับลวดลิทซ์ รุ่นตัวอย่าง Type code: STE-1204-GQU6 การเชื่อมต่อการกระจัดของฉนวนจะถูกระบุโดยคำต่อท้าย QU”

 

 ข้อควรระวังและปัญหาที่พบบ่อยในการใช้งาน Connector

  • ส่วนเชื่อมต่อไม่แน่น

        ปัญหาที่พบบ่อยคอนเนคเตอร์และส่วนเชื่อมต่อกับตัวนำสัญญาณไม่แน่นจะส่งผลเสียต่อค่าความนำสัญญาณไฟฟ้านั้นลดลง ทำให้ค่าสัญญาณไฟฟ้าลดลง หรือไม่สามารถส่งสัญญาณไฟฟ้าได้ เกิดสนิมเขียวทางไฟฟ้า (Oxide) มีระดับการป้องกันน้ำและฝุ่นลดลง ทนแรงดึงได้ต่ำลง

 

        

 

  • ขันขั้วต่อแน่นเกินไป
    ส่วนเชื่อมต่อและวงแหวนโอริงจะถูกทำลาย

         

 

  • ขั้วต่อได้รับการขันให้แน่นด้วยแรงบิดในการขันที่เหมาะสมที่สุดและกันน้ำได้ 

     การใช้งานด้วยแรงบิดที่เหมาะสมทำให้เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ M8 และ M12 รับประกันว่าการคอนเนคเตอร์ถูกรัดแน่นอย่างปลอดภัย และรับประกันการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์แบบระหว่างเซนเซอร์และอุปกรณ์ควบคุม

           

 

สรุปการแก้ไขปัญหาและประโยชน์ที่ได้รับ 

วิธีการแก้ปัญหา

เลือกใช้ประแจที่มี อุปกรณ์วัดแรงบิด ที่เหมาะสม หรือ ประแจแรงบิด ตามค่าที่กำหนดดังนี้:

  • M12 ใช้ประแจแรงบิด 0.6 Nm 
  • M8 ใช้ประแจแรงบิด 0.4 Nm

ประโยชน์ที่เราจะได้รับ

  • ประหยัดงบประมาณ ด้วยการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยลดความเสียหายของอุปกรณ์ต่อร่วมในระบบ
  • ลดการหยุดทำงานของเครื่องเนื่องจากจุดเชื่อมต่อหลวมหรือน้ำไม่สามารถไหลเข้าได้
  • สะดวกและปลอดภัยด้วยประแจแรงบิด SICK  แจ้งเตือนด้วยเสียง "คลิก" เพื่อบ่งบอกว่าถึงแรงบิดที่กำหนดไว้แล้ว
  • ไม่เจ็บนิ้วหรือบาดเจ็บอีกต่อไป 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
วิธีการเลือก Inductive Proximity Sensor
วิธีการเลือกพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์แบบเหนี่ยวนำ
6 พ.ย. 2024
คู่มือการเลือกบาร์โค้ด (Choosing Right the Barcodes)
คู่มือแนะนำเพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีบาร์โค้ดและปฏิวัติวิธีการติดตาม ตรวจสอบ จัดการ และขายผลิตภัณฑ์
7 พ.ค. 2024
Basic knowledge of safety light curtains
ความรู้พื้นฐานม่านแสงนิรภัย
23 เม.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy